เมนู

หายใจออก ว่า เราจักระงับจิตตสังขาร หายใจเข้า. สำเหนียกอยู่ ว่า เรา
จักเป็นผู้กำหนดรู้จิต หายใจออก ว่า เราจักเป็น ผู้กำหนดรู้จิต หายใจ
เข้า. สำเหนียกอยู่ว่า เราจักทำจิตให้ร่าเริง หายใจออก ว่า เราจัก
ทำจิตให้ร่าเริง หายใจเข้า. สำเหนียกอยู่ว่า เราจักตั้งจิตมั่น หายใจ
ออก ว่า เราจักตั้งจิตมั่น หายใจเข้า. สำเหนียกอยู่ ว่า เราจักเปลื้องจิต
หายใจออก ว่า เราจักเปลื้องจิต หายใจเข้า. สำเหนียกอยู่ ว่า เราจัก
เป็นผู้ตามพิจารณาความไม่เที่ยง หายใจออก ว่า เราจักเป็นผู้ตาม
พิจารณาความไม่เที่ยง หายใจเข้า. สำเหนียกอยู่ ว่า เราจักเป็นผู้ตาม
พิจารณาความคลายกำหนัด หายใจออก ว่า เราจักเป็นผู้ตามพิจารณา
ความคลายกำหนัด
หายใจเข้า. สำเหนียกอยู่ ว่า เราจักเป็นผู้ตาม
พิจารณาความดับกิเลส หายใจออก ว่า เราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความ
ดับกิเลส
หายใจเข้า. สำเหนียกอยู่ว่า เราจักเป็นผู้ตามพิจารณา
สละคืนกิเลส
หายใจออก ว่า เราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความสละคืน
กิเลส
หายใจเข้า. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ ภิกษุเจริญแล้ว
อย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้แล จึงมีผลมากมีอานิสงส์มาก.

เจริญอานาปานสติอย่างไร ? สติปัฏฐาน 4 จึงจะบริบูรณ์



[289] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อานาปานสติที่ภิกษุเจริญแล้วอย่างไร
ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงจะให้สติปัฏฐาน 4 บริบูรณ์ ?
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใด เมื่อภิกษุหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าหาย
ใจออกยาว หรือเมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าหายใจเข้ายาว. เมื่อหายใจ
ออกสั้น ก็รู้ชัดว่าหายใจออกสั้น หรือเมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า
หายใจเข้าสั้น. สำเหนียกอยู่ว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวงหายใจออก
ว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจเข้า. สำเหนียกอยู่ว่า

เราจักระงับกายสังขาร หายใจออก ว่า เราจักระงับกายสังขารหายใจ
เข้า. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในสมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกาย
มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตกล่าวลมหายใจออก ลมหายใจเข้านี้ว่า เป็น
กายชนิดหนึ่งในจำพวกกายทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแล ในสมัยนั้นภิกษุจึงชื่อ
ว่าพิจารณาเห็นกายในกาย มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัส
ในโลกเสียได้อยู่.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุสำเหนียกอยู่ว่า เราจักเป็น
ผู้กำหนดรู้ปีติ หายใจออก ว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้ปีติ หายใจเข้า.
สำเหนียกอยู่ ว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้สุข หายใจออก ว่า เราจักเป็นผู้
กำหนดรู้สุข
หายใจเข้า. สำเหนียกอยู่ ว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตต-
สังขาร
หายใจออก ว่า เราจักเป็น ผู้กำหนดรู้จิตตสังขาร หายใจเข้า.
สำเหนียกอยู่ว่า เราจักระงับจิตตสังขาร หายใจออก ว่า เราจักระงับจิตต-
สังขาร
หายใจเข้า. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในสมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าพิจารณา
เห็นเวทนาในเวทนา
มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและ
โทมนัสในโลกเสียได้อยู่. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตกล่าวการใส่ใจลม
หายใจออกลมหายใจเข้าเป็นอย่างดีนี้ ว่าเป็นเวทนาชนิดหนึ่ง ในจำพวกเวทนา
ทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแล ในสมัยนั้น ภิกษุจึงชื่อว่า พิจารณาเห็นเวทนา
ในเวทนา มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย
ได้อยู่.
ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุสำเหนียกอยู่ว่า เราจักเป็น
ผู้กำหนดรู้จิต หายใจออก ว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิต หายใจเข้า.
สำเหนียกอยู่ ว่า เราจักทำให้จิตร่าเริง หายใจออก ว่า เราจักทำให้จิต

ร่าเริง หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่า เราจักตั้งจิตมั่น หายใจออก ว่า
เราจักตั้งจิตมั่น หายใจเข้า. สำเหนียกอยู่ว่า เราจักเปลื้องจิต หาย
ใจออก ว่า เราจักเปลื้องจิต หายใจเข้า. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในสมัยนั้น
ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นจิตในจิต มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติกำจัดอภิชฌา
และโทมนัสในโลกเสียได้อยู่. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตไม่กล่าว
(ว่ามี) อานาปานสติสำหรับภิกษุผู้เผลอสติ ไม่รู้สึกตัวอยู่. เพราะฉะนั้นแล
ในสมัยนั้น ภิกษุจึงชื่อว่า พิจารณาเห็นจิตในจิต มีความเพียร รู้สึกตัว
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุสำเหนียกอยู่ว่า เราจักเป็นผู้
ตามพิจารณาความไม่เที่ยง หายใจออก ว่า เราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความ
ไม่เที่ยง
หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ว่า เราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความ
คลายกำหนัด
หายใจออก ว่า เราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความคลาย
กำหนัด
หายใจเข้า. สำเหนียกอยู่ว่า เราจักเป็นผู้ตามพิจารณา ความ
ดับกิเลส
หายใจออก ว่า เราจักเป็นผู้ตามพิจารณา ความดับกิเลส
หายใจเข้า. สำเหนียกอยู่ว่า เราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความสละคืนกิเลส
หายใจออก ว่า เราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความสละคืนกิเลส หายใจเข้า.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในสมัยนั้น ภิกษุชื่อว่า พิจารณาเห็นธรรมในธรรม มี
ความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่. เธอ
เห็นการละอภิชฌาและโทมนัสด้วยปัญญาแล้ว ย่อมเป็นผู้วางเฉย ได้ดี.
เพราะฉะนั้นแล ในสมัยนั้น ภิกษุจึงชื่อว่า พิจารณาเห็นธรรมในธรรม มี
ความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติที่ภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้ ทำให้มาก
แล้วอย่างนี้แล ชื่อว่าบำเพ็ญสติปัฏฐาน 4 ให้บริบูรณ์ได้ .

เจริญสติปัฏฐาน 4 อย่างไร โพชฌงค์ 7 จึงจะบริบูรณ์



[290] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สติปัฏฐาน 4 ที่ภิกษุเจริญแล้ว
อย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงจะให้้โพชฌงค์ 7 บริบูรณ์ได้ ?
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกาย มีความ
เพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ในสมัยนั้น
สติย่อมเป็นอันเธอผู้เข้าไปตั้งไว้แล้วไม่เผอเรอ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใด สติเป็นอันภิกษุเข้าไปตั้งไว้แล้วไม่
เผอเรอ ในสมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น
ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ของภิกษุ
นั้นจะถึงความเจริญและความบริบูรณ์ เธอเมื่อเป็นผู้มีสติอย่างนั้นอยู่ ย่อมค้น
คว้า ไตร่ตรอง ถึงความพิจารณาธรรมนั้นได้ด้วยปัญญา.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุเป็นผู้มีสติอย่างนั้นอยู่ ย่อมค้น
คว้า ไตร่ตรอง ถึงการพิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา ในสมัยนั้นธัมมวิจัย-
สัมโพชฌงค์
ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญ
ธัมมวิจัยสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ของภิกษุย่อม
ถึงความเจริญและความบริบูรณ์ เธอเมื่อค้นคว้า ไตร่ตรอง ถึงการพิจารณา
ธรรมด้วยปัญญาอยู่ ย่อมเป็นอันปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุค้นคว้า ไตร่ตรอง ถึงความ
พิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา ปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน ในสมัยนั้น
วิริยสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อม
เจริญวิริยสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น วิริยสัมโพชฌงค์ของภิกษุย่อมถึงความ
เจริญและความบริบูรณ์. ปีติปราศจากอามิสย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ปรารภความ
เพียรแล้ว.